ISO 31000 : 2018 Enterprise Risk Management System ระบบบริหารความเสี่ยงองค์กร

ISO 31000 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการความเสี่ยง ที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับองค์กร ในการจัดการความเสี่ยงที่คุกคามการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้หลักการและแนวทางในการควบคุมและแก้ไขผลกระทบด้านลบของความเสี่ยงที่มีต่อบริษัท รวมถึงการใช้ความเสี่ยงในการสร้างโอกาสให้กับบริษัท ประโยชน์ สร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างการใช้เทคนิคที่มีความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการกำกับดูแล ใช้การควบคุมระบบการจัดการที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะลดการสูญเสีย ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดการและความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องธุรกิจที่กำลังเติบโต สร้างความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงาน มาตรฐาน ISO 31000 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร ทุกองค์กรจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานหรือดำเนินการ ซึ่งต้องรวมเอาการจัดการความเสี่ยงเข้าไปไว้ในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 31000 ไม่ได้มีไว้สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสำหรับระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็นการจัดเตรียมแนวทางและโครงสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดให้กับส่วนปฏิบัติการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง

IATF 16949 : 2016 Automotive Quality Management System (QMS) standard

IATF 16949 : 2016 คือ มาตรฐานข้อกำหนดทางเทคนิค และ มาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในระดับสากลทั่วโลก โดยได้รับการปรับปรุงพัฒนา และดำเนินการจาก International Automotive Task Force (IATF) หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์นานาชาติ ประโยชน์ สร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าในแง่ของการใช้บริการและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความปลอดภัยขณะใช้งานได้อย่างสูงสุด ช่วยให้การร้องเรียนของลูกค้าลดลง ทำให้บริษัทหรือองค์กรสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบของการแข่งขันท่ามในตลาดยานยนต์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มขึ้น มาตรฐาน IATF 16949 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร IATF 16949 คือ ระบบการจัดการมาตรฐานคุณภาพสำหรับธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ซึ่งข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ประกอบไปด้วย ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ การจัดการความเสี่ยงและวิธีในการรับมือ ข้อกำหนดสำหรับซอฟต์แวร์ในระบบ การจัดการด้านการรับประกัน และการจัดการกับ Supplier ในระดับย่อย ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องรักษามาตรฐาน เพื่อเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถยืนในตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง

ISO13485 : 2016 ระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices Quality Management System)

ISO 13485 เป็นระบบมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต และ ขาย เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่าย อาทิ เตียงผ่าตัด, เตียงคนไข้, เครื่องช่วยหายใจ, เก้าอี้ทันตกรรม, ถุงมือยาง, หน้ากากอนามัย, ปรอทวัดไข้, เข็มฉีดยา, สำลี, ผ้าพันแผล, ผ้าพันเคล็ด, เครื่องอบฆ่าเชื้อ, เครื่องปั้นเลือด, ฟันปลอม, ซองบรรจุเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, อุปกรณ์ล้างจมูก, ตู้แช่เลือด, รถเข็นวางเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ประโยชน์ ความพึงพอใจของลูกค้าจากการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงคุณภาพ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย ต้นทุนในการดำเนินการที่ลดลงผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ช่วยตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ การจัดการความเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการติดตามผลิตภัณฑ์และบริการได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยง เป็นการรับรองทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือ โดยการให้หน่วยงานอิสระเป็นผู้ตรวจสอบรับรองกับมาตรฐานที่ผ่านการยอมรับ โอกาสในการเข้าหากลุ่มลูกค้าทางด้านที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์มากขึ้น มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร มาตรฐาน ISO 13485 มีผลบังคับใช้กับทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และองค์กรต่างๆ […]

ทำไมบริษัทควรทำ ISO ?

ISO คือมาตรฐานที่รับรองที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่งการทำ ISO จะช่วยให้ระบบการจัดการของบริษัทมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ   ประโยชน์ของมาตรฐานสากล (ISO) สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า :  ธุรกิจที่ได้รับ ISO สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ว่าจะได้รับสินค้า หรือการบริการอย่างมีมาตรฐาน ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ : สามารถสอบกลับงานได้ และมีระบบในการสั่งงานมากขึ้น มีการวิเคราะห์ และประเมินผล : เพื่อให้สามารถเห็นข้อบกพร่องของระบบบริหาร และสามารถปรับปรุงในปีต่อไปได้ ลูกค้าสำคัญเสมอ : ในข้อกำหนดการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 กำหนดไว้ว่า ต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าและลูกค้าเป็นบุคคลที่สำคัญเสมอ   ช่องทางการติดต่อ Website บริการ ISO : https://hrsolution.co.th/ Website บริการเงินเดือน Payroll :  https://hrmsolution.co.th/ Tel : 081-1304619 Line@ : @hrsolution.th หรือ  https://bit.ly/32zGjJm Facebook : HR […]

แนวทางและขั้นตอน การปรับปรุงไคเซ็น

วิธีการเชิงระบบ (System approach ) หรือ การสร้างคุณภาพงานของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA ( Plan – Do – Cheek – Action ) ประกอบด้วย1. การให้พนักงานมีส่วนร่วม (Get Employees Involved)2. ค้นหาปัญหา (Find Problem)3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Create Solution)4. ทดสอบวิธีการแก้ปัญหา (Test Solution)5. วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Analyze the Result)6. สร้างมาตรฐาน (Standardize)7. ตรวจดูผล และผลกระทบต่าง ๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน (Repeat).ช่องทางการติดต่อWebsite บริการ ISO : https://hrsolution.co.th/Website บริการเงินเดือน Payroll : https://hrmsolution.co.th/Tel : 081-1304619Line@ : @hrsolution.th หรือ […]

กลยุทธ์หลักไคเซ็น (Kaizen)

กลยุทธ์หลักไคเซ็น (Kaizen) มีอยู่ 3 อันหลัก ได้แก่ 3-Mu’s , 5ส และ Root cause analysis .1. 3-Mu’s คือระบบการตรวจสอบที่จะมาช่วยผู้บริหาร และพนักงานช่วยกันแก้ไขปรับปรุงงานของตนเองอยู่เสมอ โดยประกอบด้วย Muda คือความสูญเปล่า, Muri คือความตึง และ Mura คือความแตกต่างขัดแย้งกัน2. 5ส ได้แก่ สะสาง (Seiri), สะดวก (Seiton), สะอาด (Seiso), สุขลักษณะ (Seiketsu), และ สร้างวินัย (Shitsuke)3. Root Cause Analysis คือ หลักการ 5 W 1H โดยประกอบด้วย Who ใครเป็นผู้ทำ, what ทำอะไร, Where ทำที่ไหน, When ทำเมื่อไร, […]

ชมรม “เพื่อนใจ“ ที่บ้านพักมหาเมฆ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ทางบริษัท เอชอาร์ โซลูชั่น เซฮร์วิส จำ กัด ได้จัดกิจกรรมของ ชมรม “เพื่อนใจ“ ในการรวบรวมเงินทุนและนำ ไปซื้อสิ่งของบริโภค มาให้กับทางบ้านพักมหาเมฆเป็นจำนวนหนึ่ง โดยหวังว่าเด็กๆในบ้านมหาเมฆจะได้กินอิ่มในทุกๆมื้อ และมีความสุขกับของที่เรานำมาให้ และเราหวังว่าจะดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ให้กับมูลนิธิ หรือ สถานที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคม ตามนโยบายของบริษัทในการมุ่งเน้นพัฒนาสังคม

โครงการบริจาคโลหิต ให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย

บริษัท HR Solution Service จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือรวมพลังทำความดีตอบแทนสังคม ได้จัดกิจกรรมชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนในโครงการบริจาคโลหิต ให้กับศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ซึ่งมีจุดประสงค์แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกคนสามารถเข้าร่วมบริจาคโลหิตได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำโดยกิจกรรมดังกล่าวจัดทำขึ้นตามพันธกิจขององค์กรเพื่อมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดีตอบแทนสังคม และเนื่องจากปีนี้สถานการณ์โควิด19 ส่งผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการขาดแคลนเลือดในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้เราจึงเล็งเห็นว่าต้องการสนับสนุนและเข้าร่วมรับบริจาคโลหิตเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอรับการรักษา และยังเป็นการสำรองโลหิตเพื่อผู้ประสบภัย หรือประสบอุบัติเหตุในพื้นที่ต่างๆให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนโลหิตอย่างมาก

ไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็น คือ กลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น (Kaizen) แปลว่า การปรับปรุง (Improvement) โดย เป็นกิจกรรมที่ปรับปรุงการทำงานทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการปรับปรุงทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และ มีประสิทธิผลที่เพิ่มมากขึ้น  กลยุทธ์หลัก Kaizen 3-Mu’s หมายถึง ระบบตรวจสอบซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางช่วยผู้บริหารและพนักงานช่วยกันแก้ไขปรับปรุงงานของตนเองอยู่เสมอ โดยประกอบด้วย Muda คือความสูญเปล่า, Muri คือความตึง และ Mura คือความแตกต่างขัดแย้งกัน 5ส ได้แก่ สะสาง (Seiri), สะดวก (Seiton), สะอาด (Seiso), สุขลักษณะ (Seiketsu), และ สร้างวินัย (Shitsuke) Root Cause Analysis คือ หลักการ 5 W 1H โดยประกอบด้วย Who ใครเป็นผู้ทำ, what ทำอะไร, Where ทำที่ไหน, […]

การตรวจและติดตามอย่างต่อเนื่อง (Continuous Auditing & Monitoring)

เมื่อองค์กรที่ได้รับการรับรองในมาตรฐานต่างๆ อาทิ ISO9001  ISO14001  ISO45001  ISO27001 ISO22001  GMP/GHP  HACCP  FSSC หรือ GIFS ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรจาก CB แล้ว  ก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ตามขั้นตอนที่เหมาะสม แต่เมื่อผ่านไป การทำงานอาจจะมีการขาดตกบกพร่อง ข้ามขั้นตอน หรือ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานนั้นๆ จึงทำให้กระบวนการทำงานอาจจะพบข้อผิดพลาด หรือ ปัญหาที่ตามมาได้  การที่มี การตรวจและติดตามอย่างต่อเนื่อง (Continuous Auditing & Monitoring) จึงเป็นส่วนที่สำคัญในการทำงานขององค์กร รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กลไกทางธุรกิจสามารถควบคุม ป้องกัน และ ตรวจหารายการที่ผิดปกติได้ ซึ่งสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลและระบบต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อ เป็นการตรวจติดตามรายการที่ผิดปกติ ปัญหาที่ต้องติดตามหาสาเหตุ หรือแก้ไขให้ผู้รับผิดชอบทราบอย่างทันเวลา ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งลดข้อผิดพลาดต่างๆให้ลดน้อยลง โดยขั้นตอนของการตรวจและติดตามอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย ขั้นตอนการเข้าไปตรวจสอบขั้นตอนการทำงานและเอกสารต่างๆเพื่อทำการทบทวนงานและเอกสารแต่ละหน่วย หรือ แต่ละขั้นตอนการทำงาน จากนั้นนำข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้มาสรุป ประมวลผล และ วิเคราะห์ถึงต้นต่อของปัญหาในแต่ละส่วน  จากนั้นทำการแก้ไขปัญหาต้นตอ เพื่อลดและขจัดปัญหาต้นตอที่ได้จากการวิเคราะห์ รวมทั้งทำการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน […]