GFSI – (Global Food Safety Initiative)

GFSI เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารระดับสกล ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถนำเสนออาหารที่ปลอดภัยที่ดีและเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดได้ โดย GFSI ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐานเพื่อทำการขออนุมัติมาตรฐาน BRC, IFS, SQF, FSSC 22000 ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ GFSI นำมาประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ BAP (Best Aquaculture Practices) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี BRC Global Standard for Agents and Brokers เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า BRC Global Standard for Food Safety เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร  BRC Global Standard for Packaging Materials เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ BRC Global Standard for Storage and Distribution เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์  FSSC 22000 (Food Safety System Certification) […]

BRC Global Standards – ระบบการจัดการรับรองมาตรฐานอาหาร

BRC เป็นมาตรฐานที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร โดยได้รับการพัฒนาโดยผู้ค้าปลีกและผู้จัดหาสินค้า (Supplier) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร มาตรฐานของ BRC เป็นการรับประกันมาตรฐานด้านคุณภาพความปลอดภัยและเกณฑ์การปฏิบัติงานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการ การปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ผลิตปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคปลายทาง ประเภทของมาตรฐาน BRC ต่าง ๆ BRC Global Standard for Food Safety เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร  BRC Global Standard for Packaging Materials เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ BRC Global Standard for Consumer Products เป็นมาตรฐานสากลสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค BRC Global Standard for Storage and Distribution เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์  BRC Global Standard for Agents and Brokers เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า BRC Global Standard […]

FSSC 22000 – ระบบการจัดการความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร

FSSC 22000 เป็นมาตรฐานด้านระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้านการรับรองความปลอดภัยสำหรับอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการและการปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ประโยชน์ เป็นวิธีการทำงานที่เป็นระบบเพื่อการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการรับรองมาตรฐาน ISO สามารถใช้ได้กับห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งหมด ส่งเสริมภาพลักษณ์ สมรรถนะ และ การประยุกต์ต่างๆให้สอดคล้องกับองค์กร เป็นการยกระดับและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร สร้างความมั่นใจต่อลูกค้าถึงความมุ่งมั่นของผู้ผลิตต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ช่วยให้ธุรกิจบรรลุข้อกำหนดในหลักการสำหรับโครงสร้างและการเตรียมข้อมูลของระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารได้ การจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับองค์กรธุรกิจ มาตรฐาน FSSC 22000 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และ ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป 

GHP-HACCP Good Hygiene Practice(s) – Hazard Analysis Critical Control Point

GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นวิธีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา หมายถึง การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายและการเก็บรักษา จากการประเมินความเสี่ยงแนวทาง H.A.C.C.P. ช่วยให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐสามารถจัดตั้งและตรวจสอบการปฏิบัติด้านการผลิตอาหารที่ปลอดภัย GHPs และ HACCP จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารขององค์กร ซึ่งสามารถให้การรับรองเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่เหมาะสมกับธุรกิจได้ ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาและเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตรวจสอบและปรับปรุงระบบขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประโยชน์ 1) ประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ ลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย และเกิดความมั่นใจในผู้ประกอบการอาหาร (Food Supply) 2) ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม คือ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ลดการเรียก/รับคืนสินค้า และลดปัญหาสินค้าบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคุณภาพที่ซ้ำซ้อน ช่วยลดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนที่ส่งผลให้การผลิตไม่ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด รวมทั้งสุขลักษณะของโรงงานที่ผลิตสินค้า สอดคล้องกับการสร้างธุรกิจอาหารอย่างยั่งยืน Food Business Sustainable […]

ISO 45001 – ระบบการจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัย

ISO 45001 เป็นมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อช่วยส่งเสริมและปกป้องสุขภาพ (ทั้งทางกายภาพและจิตใจ) ของพนักงานขององค์กร โดยการพัฒนาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดีขึ้นสามารถนำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาของพนักงานได้ดีขึ้น โดยอาจจะทำให้จำนวนวันที่พนักงานลาป่วยลดน้อยลง รวมทั้งทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีประสิทธิภาพ และ สุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ประโยชน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งแสดงถึงความใส่ใจในการดูแลพนักงาน ช่วยลดปัญหา ข้อโต้แย้ง และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้ ส่งเสริมและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด ช่วยทำให้การปฏิบัติงานต่างๆได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและกฎหมาย ลดต้นทุน ค่ารักษาพยาบาล และ ทรัพย์สินที่เสียหาย อันเป็นผลจากอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ มาตรฐาน ISO 45001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้มาตรฐานมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับความหลากหลายขององค์กรธุรกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป 

ISO 14001 – ระบบการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม

ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่กำหนดกรอบและเกณฑ์สำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การรับรองสามารถช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงแนวทางปฏิบัติต่อด้านสิ่งแวดล้อมให้องค์กรกลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดของเสียและสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้แก่องค์กรได้ ประโยชน์ การมีการบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดจำนวนของเสียและการใช้พลังงาน ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจขององค์กร องค์กรที่ได้รับการรับรอง จะเพิ่มโอกาสในทางธุรกิจให้กับองค์กร เพื่อให้สอดคล้องตามข้อบังคับกฏหมายและข้อกำหนดในมาตรฐาน รวมทั้งแสดงถึงความโปร่งใสในการทำงาน เพื่อแสดงความใส่ใจให้กับลูกค้าและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อสำหรับส่งเสริมภาพลักษณ์ทางธุรกิจให้กับองค์ได้อย่างมั่นใจในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดี การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรธุรกิจ มาตรฐาน ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป

ISO/IEC 27001 – ระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล

ISO/IEC 27001 เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นไปที่โลกไซเบอร์ โดยมีข้อมูลบันทึกไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะถูกโจมตีหรือถูกขโมยได้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก การละเมิดข้อมูลที่มีมูลค่าสูง ไม่เพียงแต่ส่งผลในแง่ของการเงิน แต่ยังส่งผลในแง่ของชื่อเสียงขององค์กรด้วยเช่นกัน การได้รับ ISO 27001 แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์และเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation: GDPR   โดยสหภาพยุโรป (EU: European Union) ออกกฎหมายนี้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการบังคับใช้ในหลายประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป) ประโยชน์ เพื่อระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งการถูกโจมตี ข้อมูลรั่วไหล และ เข้าควบคุมการจัดการ เพื่อลดความเสียหายที่จะก่อให้เกิดขึ้นกับองค์กรและลูกค้า ทำให้องค์กรมีบริบทและบทบาทในการพัฒนาองค์กรธุรกิจ ได้อย่างยืดหยุ่นและทันตามสถานการ์ ส่งเสริม และ สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามหลักขั้นตอนสากลและได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับโลก แสดงให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเห็นถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจที่มีมาตรฐาน การบริหารจัดการข้อมูลภายในระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ มาตรฐาน ISO/IEC 27001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป

ISO9001 : 2015 Quality Management System (QMS) standard

ISO9001 : 2015Quality Management System (QMS) standard ISO9001 : 2015Quality Management System (QMS) standard ISO9001 : 2015Quality Management System (QMS) standard ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิมรวมถึงมุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยส่งเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จในการดำเนินการ ประโยชน์ มีการบริหารเชิงกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สินค้ามีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถบูรณาการ (Integrate) มาตรฐานอื่นๆ ได้ง่าย ลูกค้าเกิดความมั่นใจในตัวสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มาตรฐานนั้นเหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน […]