Automotive Industry
อุตสาหกรรมยานยนต์
จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีปริมาณการผลิตที่ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศมีการขยายตัว อันเป็นผลจากมาตรการการส่งเสริมของภาครัฐ ส่งผลให้การดำเนินกิจการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งตลาดส่งออกมีการขยายตัวมากขึ้น ยังส่งผลให้มีความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่มากยิ่งขึ้น โดยมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสหกรรมนี้ เช่น มาตรฐานมาตรฐาน IATF 16949:2016 เป็นข้อกำหนดทางเทคนิคระดับโลกและมาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เปิดเผยใน ตุลาคม 2559 โดยมาตรฐานนี้ใช้แทน ISO/TS 16949 ในฐานะมาตรฐาน สากลสำหรับระบบจัดการคุณภาพยานยนต์ เพื่อใช้ร่วมกับ ISO 9001:2015 และมีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์แทนที่จะเป็น QMS แบบสแตนด์อโลน ซึ่งเป็นการนำแนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นส่วนสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถยกระดับและพัฒนาคุณภาพด้านยานยนต์ได้อย่างรวดเร็วโดยดำเนินการตามข้อกำหนดที่ระบุไว้โดยเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์อาจจะก่อให้เกิดสิ่งที่ก่อมลพิษและกระทบสิ่งแวดล้อมได้ อาทิเช่น น้ำมันหล่อลื่น สารเคมี หรือ น้ำที่ผ่านกระบวนการผลิต เป็นต้น โดยสิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมีกระบวนการจัดการที่มีระบบและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงมีความจำเป็นนำ ISO14001 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรมาเสริมศักยภาพขององค์กร ทำให้องค์กรมีการบริหารและจัดการของเสียหรือสิ่งที่เป็นมลพิษได้อย่างถูกต้อง ลดการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังส่งผลให้เป็นการเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรด้านความตระหนักและสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายต่อผู้ปฏิบัติงาน และอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและองค์กรได้ การนำ ISO45001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัตงานแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบโดยที่ลดความสูญเสียทางธุรกิจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์กรด้วยการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและยั่งยืน
ประโยชน์ IATF 16949:2016 สำหรับการจัดการคุณภาพยานยนต์เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจเพื่อช่วยให้องค์กร
- ทำให้องค์กรได้รับการยอมรับในฐานะผู้จัดหายานยนต์ที่มีมาตรฐานระดับโลก
- รวมระบบขององค์กรเข้ากับมาตรฐานระบบการจัดการอื่นๆเพื่อการนำมาดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของทีมผู้นำขององค์กรทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
- สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาดห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ระหว่างประเทศ
- ทำให้เกิดการขับเคลื่อนคุณภาพและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในองค์กรให้มีระบบและมีมาตรฐาน
- เป็นการลดความเสี่ยง ปรับปรุง และ พัฒนาการจัดการกับโอกาสผ่านการประยุกต์ใช้ตามมุมมองของความเสี่ยง