ISO 41001 : 2018 Facility Management System มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก

องค์กรมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบในด้านความปลอดภัย สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ประสิทธิภาพและผลลัพท์ที่ดีขึ้น จึงช่วยลดต้นทุนขององค์กรในการบริหารจัดการได้ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งต่อพนักงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ เพื่อระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งการถูกโจมตี ข้อมูลรั่วไหล และ เข้าควบคุมการจัดการ เพื่อลดความเสียหายที่จะก่อให้เกิดขึ้นกับองค์กรและลูกค้า ทำให้องค์กรมีบริบทและบทบาทในการพัฒนาองค์กรธุรกิจ ได้อย่างยืดหยุ่นและทันตามสถานการ์ ส่งเสริม และ สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามหลักขั้นตอนสากลและได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับโลก แสดงให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเห็นถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจที่มีมาตรฐาน มาตรฐาน ISO 41001 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร ทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่จพมีองค์ประกอบบางอย่างที่ต้องทำในด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นหลักการที่ซับซ้อนแต่มีผลกระทบต่อทุกคน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกันพื้นที่ที่เราใช้หรือครอบครองอยู่ และวิธีที่พื้นที่เหล่านี้จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานคือนำเอามาตรฐาน ISO41001 มาประยุกต์ใช้นั่นเอง
ISO 39001 : 2012 Road Traffic Safety Management System ระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจร

ISO 39001 คือระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจร ช่วยให้ บริษัท มีความเข้าใจที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับงานและการโต้ตอบของระบบความปลอดภัยการจราจรบนถนน และจะบรรลุเป้าหมายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความปลอดภัยขององค์กร แสดงให้เห็นถึงสังคมที่พวกเขาให้ความสำคัญกับเป้าหมายเหล่านี้ ประโยชน์ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจะลดลง ลดค่าใช้จ่ายของคุณด้วยการปรับปรุงคุณภาพ ช่วยให้คุณได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน บริษัท แรก ๆ ที่ใช้ ISO 39001 ให้เป้าหมายด้านความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสังคม มาตรฐาน ISO 39001 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร ISO 39001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจรออกแบบมาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนและเพื่อความปลอดภัยทางถนนและการจราจรถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทางหลวงและระบบการจราจรและรับผิดชอบความปลอดภัยทางถนนและการจราจร ไม่สำคัญว่าองค์กรเหล่านี้จะใหญ่หรือเล็ก
ISO 22301 : 2019 การบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (BCMS) Business continuity management systems

ISO 22301 (Business Continuity Management) เป็นมาตรฐานการบริหารจัดการแบบองค์รวม ซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และเป็นกรอบการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล ประโยชน์ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการแบบองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดความต่อเนื่องของกระบวนการบริหารจัดการ พัฒนาบุคลากรและองค์กรให้มีความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipate) ประเมิน (Access) เตรียมการ (Prepare) ป้องกัน (Prevent) ตอบสนอง (Response) และฟื้นฟู (Recovery) ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ระบุและจัดการภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคตกับธุรกิจของคุณ ใช้แนวทางเชิงรุกเพื่อลดผลกระทบของเหตุการณ์ ลดการหยุดทำงานในระหว่างการเกิดอุบัติเหตุและปรับปรุงเวลาการกู้คืน สร้างความมั่นใจและให้ความเชื่อมั่นแก่พนักงานและลูกค้า สามารถบูรณาการ (Integrate) ร่วมกับระบบการจัดการอื่น ๆ ได้ มาตรฐาน ISO 22301 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร มาตรฐาน BCM นี้ สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ประเภท ทุกขนาดได้
ISO 31000 : 2018 Enterprise Risk Management System ระบบบริหารความเสี่ยงองค์กร

ISO 31000 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการความเสี่ยง ที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับองค์กร ในการจัดการความเสี่ยงที่คุกคามการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้หลักการและแนวทางในการควบคุมและแก้ไขผลกระทบด้านลบของความเสี่ยงที่มีต่อบริษัท รวมถึงการใช้ความเสี่ยงในการสร้างโอกาสให้กับบริษัท ประโยชน์ สร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างการใช้เทคนิคที่มีความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการกำกับดูแล ใช้การควบคุมระบบการจัดการที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะลดการสูญเสีย ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดการและความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องธุรกิจที่กำลังเติบโต สร้างความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงาน มาตรฐาน ISO 31000 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร ทุกองค์กรจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานหรือดำเนินการ ซึ่งต้องรวมเอาการจัดการความเสี่ยงเข้าไปไว้ในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 31000 ไม่ได้มีไว้สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสำหรับระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็นการจัดเตรียมแนวทางและโครงสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดให้กับส่วนปฏิบัติการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง
IATF 16949 : 2016 Automotive Quality Management System (QMS) standard

IATF 16949 : 2016 คือ มาตรฐานข้อกำหนดทางเทคนิค และ มาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในระดับสากลทั่วโลก โดยได้รับการปรับปรุงพัฒนา และดำเนินการจาก International Automotive Task Force (IATF) หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์นานาชาติ ประโยชน์ สร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าในแง่ของการใช้บริการและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความปลอดภัยขณะใช้งานได้อย่างสูงสุด ช่วยให้การร้องเรียนของลูกค้าลดลง ทำให้บริษัทหรือองค์กรสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบของการแข่งขันท่ามในตลาดยานยนต์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มขึ้น มาตรฐาน IATF 16949 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร IATF 16949 คือ ระบบการจัดการมาตรฐานคุณภาพสำหรับธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ซึ่งข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ประกอบไปด้วย ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ การจัดการความเสี่ยงและวิธีในการรับมือ ข้อกำหนดสำหรับซอฟต์แวร์ในระบบ การจัดการด้านการรับประกัน และการจัดการกับ Supplier ในระดับย่อย ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องรักษามาตรฐาน เพื่อเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถยืนในตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง
ISO13485 : 2016 ระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices Quality Management System)

ISO 13485 เป็นระบบมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต และ ขาย เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่าย อาทิ เตียงผ่าตัด, เตียงคนไข้, เครื่องช่วยหายใจ, เก้าอี้ทันตกรรม, ถุงมือยาง, หน้ากากอนามัย, ปรอทวัดไข้, เข็มฉีดยา, สำลี, ผ้าพันแผล, ผ้าพันเคล็ด, เครื่องอบฆ่าเชื้อ, เครื่องปั้นเลือด, ฟันปลอม, ซองบรรจุเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, อุปกรณ์ล้างจมูก, ตู้แช่เลือด, รถเข็นวางเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ประโยชน์ ความพึงพอใจของลูกค้าจากการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงคุณภาพ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย ต้นทุนในการดำเนินการที่ลดลงผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ช่วยตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ การจัดการความเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการติดตามผลิตภัณฑ์และบริการได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยง เป็นการรับรองทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือ โดยการให้หน่วยงานอิสระเป็นผู้ตรวจสอบรับรองกับมาตรฐานที่ผ่านการยอมรับ โอกาสในการเข้าหากลุ่มลูกค้าทางด้านที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์มากขึ้น มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร มาตรฐาน ISO 13485 มีผลบังคับใช้กับทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และองค์กรต่างๆ […]
GFSI – (Global Food Safety Initiative)

GFSI เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารระดับสกล ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถนำเสนออาหารที่ปลอดภัยที่ดีและเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดได้ โดย GFSI ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐานเพื่อทำการขออนุมัติมาตรฐาน BRC, IFS, SQF, FSSC 22000 ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ GFSI นำมาประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ BAP (Best Aquaculture Practices) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี BRC Global Standard for Agents and Brokers เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า BRC Global Standard for Food Safety เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร BRC Global Standard for Packaging Materials เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ BRC Global Standard for Storage and Distribution เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์ FSSC 22000 (Food Safety System Certification) […]
BRC Global Standards – ระบบการจัดการรับรองมาตรฐานอาหาร

BRC เป็นมาตรฐานที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร โดยได้รับการพัฒนาโดยผู้ค้าปลีกและผู้จัดหาสินค้า (Supplier) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร มาตรฐานของ BRC เป็นการรับประกันมาตรฐานด้านคุณภาพความปลอดภัยและเกณฑ์การปฏิบัติงานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการ การปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ผลิตปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคปลายทาง ประเภทของมาตรฐาน BRC ต่าง ๆ BRC Global Standard for Food Safety เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร BRC Global Standard for Packaging Materials เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ BRC Global Standard for Consumer Products เป็นมาตรฐานสากลสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค BRC Global Standard for Storage and Distribution เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์ BRC Global Standard for Agents and Brokers เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า BRC Global Standard […]
FSSC 22000 – ระบบการจัดการความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร

FSSC 22000 เป็นมาตรฐานด้านระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้านการรับรองความปลอดภัยสำหรับอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการและการปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ประโยชน์ เป็นวิธีการทำงานที่เป็นระบบเพื่อการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการรับรองมาตรฐาน ISO สามารถใช้ได้กับห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งหมด ส่งเสริมภาพลักษณ์ สมรรถนะ และ การประยุกต์ต่างๆให้สอดคล้องกับองค์กร เป็นการยกระดับและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร สร้างความมั่นใจต่อลูกค้าถึงความมุ่งมั่นของผู้ผลิตต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ช่วยให้ธุรกิจบรรลุข้อกำหนดในหลักการสำหรับโครงสร้างและการเตรียมข้อมูลของระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารได้ การจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับองค์กรธุรกิจ มาตรฐาน FSSC 22000 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และ ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป
GHP-HACCP Good Hygiene Practice(s) – Hazard Analysis Critical Control Point

GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นวิธีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา หมายถึง การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายและการเก็บรักษา จากการประเมินความเสี่ยงแนวทาง H.A.C.C.P. ช่วยให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐสามารถจัดตั้งและตรวจสอบการปฏิบัติด้านการผลิตอาหารที่ปลอดภัย GHPs และ HACCP จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารขององค์กร ซึ่งสามารถให้การรับรองเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่เหมาะสมกับธุรกิจได้ ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาและเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตรวจสอบและปรับปรุงระบบขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประโยชน์ 1) ประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ ลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย และเกิดความมั่นใจในผู้ประกอบการอาหาร (Food Supply) 2) ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม คือ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ลดการเรียก/รับคืนสินค้า และลดปัญหาสินค้าบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคุณภาพที่ซ้ำซ้อน ช่วยลดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนที่ส่งผลให้การผลิตไม่ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด รวมทั้งสุขลักษณะของโรงงานที่ผลิตสินค้า สอดคล้องกับการสร้างธุรกิจอาหารอย่างยั่งยืน Food Business Sustainable […]