ISO คือ

ISO มาจากคำว่า International Organization for Standardization (ISO) เป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพขององค์กรต่างๆ เพื่อรับการรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก 

ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO

1. องค์กร/บริษัท
  • การจัดการองค์กร การบริหารงาน และ การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบและมีประสิทธิภาพ

  • ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจและได้รับการยอมรับจากลูกค้าหรือผู้รับบริการ

  • ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว

2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
  • มีการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ตามขั้นตอน และ มีมาตรฐานเดียวกัน

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

  • พนักงานมีวินัยและจิตสำนึกในการทำงานที่สูงขึ้น

  • พัฒนาการทำงานเป็นทีมโดยมีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเอง ตลอดจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน

3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
  • มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ

  • สะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

  • ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน

6 ขั้นตอนในการขอรับรองมาตรฐานระบบ ISO

การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งแยกความแตกต่างขององค์กรออกจากคู่แข่ง โดยมีขั้นตอนการขอการรับรองมาตรฐานดังนี้

  1. เลือกมาตรฐานที่เหมาะสมกับองค์กร : ขั้นตอนแรกในกระบวนการรับรอง ISO คือ จำเป็นต้องทราบว่ามาตรฐานใดจะเหมาะสมกับสำหรับองค์กรและช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่คาดหวัง
  2. การหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบมาตรฐานที่เหมาะสม (Certification Body: CB) : เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยการศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกในการหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบมาตรฐานหรือ CB ขององค์
  3. การหาผู้ช่วยในการจัดทำระบบ : องค์กรอาจจะต้องมีผู้ช่วยเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการจัดทำระบบมาตรฐาน การฝึกอบรม และ การพัฒนา โดยการอบรมหลักสูตรการรับรองมาตรฐาน ISO ต่างๆ จะช่วยสรุปและเน้นจุดที่สำคัญของการรับรองหลักสูตรต่างๆ ช่วยให้พนักงานขององค์กรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ได้ดำเนินการและประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาองค์กร
  1. การเข้ารับการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 : เป็นการตรวจประเมินแบบตรงไปตรงมา โดยเป็นการตรวจประเมินเพื่อให้เข้าใจกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรในปัจจุบัน และให้คำแนะนำเพื่อที่องค์กรจะสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของแต่ละมาตรฐานที่องค์กรทำการขอการรับรอง
  2. การพัฒนาระบบการจัดการในองค์กร : หลังจากการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 ต้องมีการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการตามคำแนะนำจากผู้ตรวจประเมิน (Auditor) โดยระบบการจัดเอกสารที่สรุปกระบวนการทางธุรกิจจะแสดงให้เห็นว่าองค์กรได้ปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการขอรับรองได้
  3. การตรวจประเมินขั้นตอนที่ 2 : ผู้ตรวจประเมินจะดำเนินการเข้าเยี่ยมตรวจอีกครั้ง เพื่อดูว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 โดยหากทุกอย่างอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระบบมาตฐานที่ต้องการขอรับรองคุณแล้ว องค์กรก็จะได้รับการรับรอง แต่หากยังมีบางส่วนที่ยังไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนด ผู้ตรวจประเมินอาจจะแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับการตรวจประเมินและตรวจติดตามที่เหมาะสมต่อไป

ISO มีความเหมาะกับธุรกิจที่แตกต่างกันดังตัวอย่างมาตรฐานดังต่อไปนี้

ISO9001 : 2015 Quality Management System (QMS) standard

ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
รวมถึงมุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยส่งเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จในการดำเนินการ

ประโยชน์
  • มีการบริหารเชิงกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  • มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • สินค้ามีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • มีการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร
  • เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  • เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • สามารถบูรณาการ (Integrate) มาตรฐานอื่นๆ ได้ง่าย
  • ลูกค้าเกิดความมั่นใจในตัวสินค้าและบริการ
  • ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
มาตรฐานนั้นเหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปประยุกต์ใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากร จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงได้

ISO/IEC 27001 – ระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล

ISO/IEC 27001 เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นไปที่โลกไซเบอร์ โดยมีข้อมูลบันทึกไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะถูกโจมตีหรือถูกขโมยได้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก การละเมิดข้อมูลที่มีมูลค่าสูง ไม่เพียงแต่ส่งผลในแง่ของการเงิน แต่ยังส่งผลในแง่ของชื่อเสียงขององค์กรด้วยเช่นกัน การได้รับ ISO 27001 แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์และเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation: GDPR   โดยสหภาพยุโรป (EU: European Union) ออกกฎหมายนี้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการบังคับใช้ในหลายประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป)

ประโยชน์
  • เพื่อระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งการถูกโจมตี ข้อมูลรั่วไหล และ เข้าควบคุมการจัดการ เพื่อลดความเสียหายที่จะก่อให้เกิดขึ้นกับองค์กรและลูกค้า
  • ทำให้องค์กรมีบริบทและบทบาทในการพัฒนาองค์กรธุรกิจ ได้อย่างยืดหยุ่นและทันตามสถานการ์
  • ส่งเสริม และ สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ
  • แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามหลักขั้นตอนสากลและได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับโลก
  • แสดงให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเห็นถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจที่มีมาตรฐาน
การบริหารจัดการข้อมูลภายในระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน ISO/IEC 27001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป

ISO 14001 – ระบบการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม

ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่กำหนดกรอบและเกณฑ์สำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การรับรองสามารถช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงแนวทางปฏิบัติต่อด้านสิ่งแวดล้อมให้องค์กรกลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดของเสียและสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้แก่องค์กรได้

ประโยชน์
  • การมีการบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดจำนวนของเสียและการใช้พลังงาน
  • ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจขององค์กร
  • องค์กรที่ได้รับการรับรอง จะเพิ่มโอกาสในทางธุรกิจให้กับองค์กร
  • เพื่อให้สอดคล้องตามข้อบังคับกฏหมายและข้อกำหนดในมาตรฐาน รวมทั้งแสดงถึงความโปร่งใสในการทำงาน เพื่อแสดงความใส่ใจให้กับลูกค้าและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง
  • เพื่อสำหรับส่งเสริมภาพลักษณ์ทางธุรกิจให้กับองค์ได้อย่างมั่นใจในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดี
การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป

ISO 45001 – ระบบการจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัย

ISO 45001 เป็นมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อช่วยส่งเสริมและปกป้องสุขภาพ (ทั้งทางกายภาพและจิตใจ) ของพนักงานขององค์กร โดยการพัฒนาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดีขึ้นสามารถนำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาของพนักงานได้ดีขึ้น โดยอาจจะทำให้จำนวนวันที่พนักงานลาป่วยลดน้อยลง รวมทั้งทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีประสิทธิภาพ และ สุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

ประโยชน์
  • ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งแสดงถึงความใส่ใจในการดูแลพนักงาน
  • ช่วยลดปัญหา ข้อโต้แย้ง และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้
  • ส่งเสริมและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด
  • ช่วยทำให้การปฏิบัติงานต่างๆได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและกฎหมาย
  • ลดต้นทุน ค่ารักษาพยาบาล และ ทรัพย์สินที่เสียหาย อันเป็นผลจากอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน ISO 45001 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้มาตรฐานมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับความหลากหลายขององค์กรธุรกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป 

GHP-HACCP Good Hygiene Practice(s) – Hazard Analysis Critical Control Point

GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหาร
มีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร

HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นวิธีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา หมายถึง การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ ป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายและการเก็บรักษา จากการประเมินความเสี่ยงแนวทาง H.A.C.C.P. ช่วยให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐสามารถจัดตั้งและตรวจสอบการปฏิบัติด้านการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

GHPs และ HACCP จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารขององค์กร ซึ่งสามารถให้การรับรองเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่เหมาะสมกับธุรกิจได้ ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาและเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตรวจสอบและปรับปรุงระบบขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์

1) ประโยชน์ต่อผู้บริโภค คือ

  • ลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย และเกิดความมั่นใจในผู้ประกอบการอาหาร (Food Supply)


2) ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม คือ

  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
  • ลดการเรียก/รับคืนสินค้า และลดปัญหาสินค้าบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคุณภาพที่ซ้ำซ้อน
  • ช่วยลดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนที่ส่งผลให้การผลิตไม่ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด รวมทั้งสุขลักษณะของโรงงานที่ผลิตสินค้า
  • สอดคล้องกับการสร้างธุรกิจอาหารอย่างยั่งยืน Food Business Sustainable
  • เพิ่มการสื่อสารที่ดี ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
"มาตรฐานนั้นเหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร"

GHPs&HACCP เป็นแนวทางพื้นฐานในการควบคุมการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันอันตรายทางอาหาร (food hazard) ทั้งอันตรายทางกายภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางชีวภาพ และสารก่อภูมิแพ้ โดยครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของสถานที่ผลิต วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ สุขอนามัยในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค จึงเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร เพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

FSSC 22000 – ระบบการจัดการความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร

FSSC 22000 เป็นมาตรฐานด้านระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้านการรับรองความปลอดภัยสำหรับอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการและการปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร

ประโยชน์
  • เป็นวิธีการทำงานที่เป็นระบบเพื่อการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รูปแบบการรับรองมาตรฐาน ISO สามารถใช้ได้กับห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งหมด
  • ส่งเสริมภาพลักษณ์ สมรรถนะ และ การประยุกต์ต่างๆให้สอดคล้องกับองค์กร
  • เป็นการยกระดับและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร
  • สร้างความมั่นใจต่อลูกค้าถึงความมุ่งมั่นของผู้ผลิตต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
  • ช่วยให้ธุรกิจบรรลุข้อกำหนดในหลักการสำหรับโครงสร้างและการเตรียมข้อมูลของระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารได้
การจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน FSSC 22000 เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และ ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป 

BRC Global Standards – ระบบการจัดการรับรองมาตรฐานอาหาร

BRC เป็นมาตรฐานที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร โดยได้รับการพัฒนาโดยผู้ค้าปลีกและผู้จัดหาสินค้า (Supplier) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร มาตรฐานของ BRC เป็นการรับประกันมาตรฐานด้านคุณภาพความปลอดภัยและเกณฑ์การปฏิบัติงานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิธีการ การปฏิบัติการตามระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ผลิตปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคปลายทาง

ประเภทของมาตรฐาน BRC ต่าง ๆ
BRC Global Standard for Food Safety

เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร 

BRC Global Standard for Packaging Materials

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์

BRC Global Standard for Consumer Products

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค

BRC Global Standard for Storage and Distribution

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์ 

BRC Global Standard for Agents and Brokers

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า

BRC Global Standard for Gluten Free

สำหรับผู้ผลิตอาหารที่ต้องการการยอมรับจากหน่วยรับรองว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ผลิตตามวิธีปฏิบัติตามความปลอดภัยของสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

BRC Global Standard for Ethical Trading and Responsible Sourcing

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการค้าอย่างมีจริยธรรมและการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ 

BRC Global Standard for Retail Issue 1

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับธุรกิจค้าปลีก

BRC Global Standard for PLANT-BASED GLOBAL STANDARD

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับผู้ผลิต PLANT-BASED Food

ประโยชน์
  • เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ค้าปลีก และ เจ้าของแบรนด์ เพื่อลดภาระในการตรวจสอบ
  • การดำเนินงานภายใต้กรอบของการรับรองระบบงานที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับ  และ มีมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน GFSI
  • ส่งเสริมประสิทธิภาพในเรื่องของความโปร่งใส และ การตรวจสอบย้อนกลับได้ดีขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
  • มาตรฐาน BRC จะมีขอบเขตครอบคลุมการให้บริการที่มีคุณภาพด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับข้อกำหนดของลูกค้า เมื่อมีการประเมินและอนุมัติผู้จัดหาสินค้า (Supplier)
  • ทำให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายของผู้ผลิตอาหารและลูกค้า
  • ส่งเสริมความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร
  • มีระบบการเฝ้าระวัง ตรวจติดตาม และ ยืนยันการติดตามผลของการดำเนินการแก้ไขที่ไม่สอดคล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อให้ได้สินค้าที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า และสอดคล้องตามกฎหมาย
การจัดการความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน BRC เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และ ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยจะมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ผลิตปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคปลายทาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กโดยเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เป็นข้อได้เปรียบและจุดแข็งเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั่วไป   

GFSI – (Global Food Safety Initiative)

GFSI เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารระดับสกล ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถนำเสนออาหารที่ปลอดภัยที่ดีและเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดได้ โดย GFSI ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐานเพื่อทำการขออนุมัติมาตรฐาน BRC, IFS, SQF, FSSC 22000 ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ GFSI นำมาประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้

BAP (Best Aquaculture Practices)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

BRC Global Standard for Agents and Brokers

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า

BRC Global Standard for Food Safety

เป็นมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร 

BRC Global Standard for Packaging Materials

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับบรรจุภัณฑ์และวัสดุสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์

BRC Global Standard for Storage and Distribution

เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดเก็บและการกระจายผลิตภัณฑ์ 

FSSC 22000 (Food Safety System Certification)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับด้านระบบมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร

Global GAP (Good Agricultural Practice)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

IFS Food (International Featured Standard)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศเพื่อให้การผลิตอาหารปลอดภัย 

IFS (Logistics Certification)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารในเรื่องการขนส่ง

SQF (Safe Quality Food)

เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยของอาหาร

ประโยชน์
  • การดำเนินงานภายใต้กรอบของการรับรองระบบงานที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับ  และ มีมาตรฐานระหว่างประเทศ
  • ส่งเสริมประสิทธิภาพในเรื่องของความโปร่งใส และ การตรวจสอบย้อนกลับได้มากขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
  • มาตร GFSI จะมีขอบเขตครอบคลุมการให้บริการที่มีคุณภาพด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับข้อกำหนดของลูกค้า เมื่อมีการประเมินและอนุมัติผู้ขายสินค้า (Supplier)
  • ทำให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ของผู้ผลิตอาหาร และลูกค้า
  • ส่งเสริมความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงทั้ง ห่วงโซ่อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร
  • มีระบบการเฝ้าระวัง ตรวจติดตาม และ ยืนยันการติดตามผลของการดำเนินการแก้ไขที่ไม่สอดคล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับองค์กรธุรกิจ

มาตรฐาน GFSI เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับทุกองค์กร ทุกขนาด และสามารถช่วยให้องค์กรมีการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และ ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยจะมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ผลิตปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคปลายทาง 

ISO13485 : 2016 ระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices Quality Management System)

ISO 13485 เป็นระบบมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต และ ขาย เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่าย อาทิ เตียงผ่าตัด, เตียงคนไข้, เครื่องช่วยหายใจ, เก้าอี้ทันตกรรม, ถุงมือยาง, หน้ากากอนามัย, ปรอทวัดไข้, เข็มฉีดยา, สำลี, ผ้าพันแผล, ผ้าพันเคล็ด, เครื่องอบฆ่าเชื้อ, เครื่องปั้นเลือด, ฟันปลอม, ซองบรรจุเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, อุปกรณ์ล้างจมูก, ตู้แช่เลือด, รถเข็นวางเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

ประโยชน์
  • ความพึงพอใจของลูกค้าจากการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงคุณภาพ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • ต้นทุนในการดำเนินการที่ลดลงผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  • ช่วยตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์
  • การจัดการความเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการติดตามผลิตภัณฑ์และบริการได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยง
  • เป็นการรับรองทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือ โดยการให้หน่วยงานอิสระเป็นผู้ตรวจสอบรับรองกับมาตรฐานที่ผ่านการยอมรับ
  • โอกาสในการเข้าหากลุ่มลูกค้าทางด้านที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์มากขึ้น
มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

มาตรฐาน ISO 13485 มีผลบังคับใช้กับทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเป็นการเน้นถึงหน้าที่ของผู้ผลิตในการดำเนินการให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ของตนตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามข้อกำหนดของข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001 ได้ด้วย