ISO คือ

ISO มาจากคำว่า International Organization for Standardization (ISO) เป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพขององค์กรต่างๆ เพื่อรับการรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก 

ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO

1. องค์กร/บริษัท
  • การจัดการองค์กร การบริหารงาน และ การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบและมีประสิทธิภาพ

  • ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจและได้รับการยอมรับจากลูกค้าหรือผู้รับบริการ

  • ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว

2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
  • มีการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ตามขั้นตอน และ มีมาตรฐานเดียวกัน

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

  • พนักงานมีวินัยและจิตสำนึกในการทำงานที่สูงขึ้น

  • พัฒนาการทำงานเป็นทีมโดยมีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเอง ตลอดจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน

3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
  • มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ

  • สะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

  • ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน

6 ขั้นตอนในการขอรับรองมาตรฐานระบบ ISO

การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งแยกความแตกต่างขององค์กรออกจากคู่แข่ง โดยมีขั้นตอนการขอการรับรองมาตรฐานดังนี้

  1. เลือกมาตรฐานที่เหมาะสมกับองค์กร : ขั้นตอนแรกในกระบวนการรับรอง ISO คือ จำเป็นต้องทราบว่ามาตรฐานใดจะเหมาะสมกับสำหรับองค์กรและช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามที่คาดหวัง
  2. การหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบมาตรฐานที่เหมาะสม (Certification Body: CB) : เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยการศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกในการหาผู้ตรวจประเมินรับรองระบบมาตรฐานหรือ CB ขององค์
  3. การหาผู้ช่วยในการจัดทำระบบ : องค์กรอาจจะต้องมีผู้ช่วยเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการจัดทำระบบมาตรฐาน การฝึกอบรม และ การพัฒนา โดยการอบรมหลักสูตรการรับรองมาตรฐาน ISO ต่างๆ จะช่วยสรุปและเน้นจุดที่สำคัญของการรับรองหลักสูตรต่างๆ ช่วยให้พนักงานขององค์กรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ได้ดำเนินการและประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาองค์กร
  1. การเข้ารับการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 : เป็นการตรวจประเมินแบบตรงไปตรงมา โดยเป็นการตรวจประเมินเพื่อให้เข้าใจกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรในปัจจุบัน และให้คำแนะนำเพื่อที่องค์กรจะสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของแต่ละมาตรฐานที่องค์กรทำการขอการรับรอง
  2. การพัฒนาระบบการจัดการในองค์กร : หลังจากการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 ต้องมีการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการตามคำแนะนำจากผู้ตรวจประเมิน (Auditor) โดยระบบการจัดเอกสารที่สรุปกระบวนการทางธุรกิจจะแสดงให้เห็นว่าองค์กรได้ปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการขอรับรองได้
  3. การตรวจประเมินขั้นตอนที่ 2 : ผู้ตรวจประเมินจะดำเนินการเข้าเยี่ยมตรวจอีกครั้ง เพื่อดูว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 โดยหากทุกอย่างอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระบบมาตฐานที่ต้องการขอรับรองคุณแล้ว องค์กรก็จะได้รับการรับรอง แต่หากยังมีบางส่วนที่ยังไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนด ผู้ตรวจประเมินอาจจะแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับการตรวจประเมินและตรวจติดตามที่เหมาะสมต่อไป

ISO มีความเหมาะกับธุรกิจที่แตกต่างกันดังตัวอย่างมาตรฐานดังต่อไปนี้

IATF 16949 : 2016 Automotive Quality Management System (QMS) standard

IATF 16949 : 2016 คือ มาตรฐานข้อกำหนดทางเทคนิค และ มาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในระดับสากลทั่วโลก โดยได้รับการปรับปรุงพัฒนา และดำเนินการจาก International Automotive Task Force (IATF) หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์นานาชาติ

ประโยชน์
  • สร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าในแง่ของการใช้บริการและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความปลอดภัยขณะใช้งานได้อย่างสูงสุด
  • ช่วยให้การร้องเรียนของลูกค้าลดลง
  • ทำให้บริษัทหรือองค์กรสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างความได้เปรียบของการแข่งขันท่ามในตลาดยานยนต์
  • คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มขึ้น
มาตรฐาน IATF 16949 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

IATF 16949 คือ ระบบการจัดการมาตรฐานคุณภาพสำหรับธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ซึ่งข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ประกอบไปด้วย ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ การจัดการความเสี่ยงและวิธีในการรับมือ ข้อกำหนดสำหรับซอฟต์แวร์ในระบบ การจัดการด้านการรับประกัน และการจัดการกับ Supplier ในระดับย่อย ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องรักษามาตรฐาน เพื่อเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถยืนในตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง

ISO 31000 : 2018 Enterprise Risk Management System ระบบบริหารความเสี่ยงองค์กร

ISO 31000 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการความเสี่ยง ที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับองค์กร ในการจัดการความเสี่ยงที่คุกคามการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้หลักการและแนวทางในการควบคุมและแก้ไขผลกระทบด้านลบของความเสี่ยงที่มีต่อบริษัท รวมถึงการใช้ความเสี่ยงในการสร้างโอกาสให้กับบริษัท

ประโยชน์
  • สร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างการใช้เทคนิคที่มีความเสี่ยง
  • เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการกำกับดูแล
  • ใช้การควบคุมระบบการจัดการที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะลดการสูญเสีย
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดการและความยืดหยุ่น
  • ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องธุรกิจที่กำลังเติบโต
  • สร้างความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงาน
มาตรฐาน ISO 31000 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

ทุกองค์กรจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานหรือดำเนินการ ซึ่งต้องรวมเอาการจัดการความเสี่ยงเข้าไปไว้ในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งขอบข่ายของมาตรฐาน ISO 31000 ไม่ได้มีไว้สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสำหรับระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็นการจัดเตรียมแนวทางและโครงสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดให้กับส่วนปฏิบัติการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง

ISO 22301 : 2019 การบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (BCMS) Business continuity management systems

ISO 22301 (Business Continuity Management) เป็นมาตรฐานการบริหารจัดการแบบองค์รวม ซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และเป็นกรอบการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล

ประโยชน์
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการแบบองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดความต่อเนื่องของกระบวนการบริหารจัดการ
  • พัฒนาบุคลากรและองค์กรให้มีความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipate) ประเมิน (Access) เตรียมการ (Prepare) ป้องกัน (Prevent) ตอบสนอง (Response) และฟื้นฟู (Recovery) ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
  • ระบุและจัดการภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคตกับธุรกิจของคุณ
  • ใช้แนวทางเชิงรุกเพื่อลดผลกระทบของเหตุการณ์
  • ลดการหยุดทำงานในระหว่างการเกิดอุบัติเหตุและปรับปรุงเวลาการกู้คืน
  • สร้างความมั่นใจและให้ความเชื่อมั่นแก่พนักงานและลูกค้า
  • สามารถบูรณาการ (Integrate) ร่วมกับระบบการจัดการอื่น ๆ ได้
มาตรฐาน ISO 22301 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

มาตรฐาน BCM นี้ สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ประเภท ทุกขนาดได้

ISO 39001 : 2012 Road Traffic Safety Management System ระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจร

ISO 39001 คือระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจร ช่วยให้ บริษัท มีความเข้าใจที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับงานและการโต้ตอบของระบบความปลอดภัยการจราจรบนถนน และจะบรรลุเป้าหมายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความปลอดภัยขององค์กร แสดงให้เห็นถึงสังคมที่พวกเขาให้ความสำคัญกับเป้าหมายเหล่านี้

ประโยชน์
  • อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจะลดลง
  • ลดค่าใช้จ่ายของคุณด้วยการปรับปรุงคุณภาพ
  • ช่วยให้คุณได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน บริษัท แรก ๆ ที่ใช้ ISO 39001
  • ให้เป้าหมายด้านความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐาน ISO 39001 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

ISO 39001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการจราจรออกแบบมาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนและเพื่อความปลอดภัยทางถนนและการจราจรถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทางหลวงและระบบการจราจรและรับผิดชอบความปลอดภัยทางถนนและการจราจร ไม่สำคัญว่าองค์กรเหล่านี้จะใหญ่หรือเล็ก

ISO 41001 : 2018 Facility Management System มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
  • องค์กรมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบในด้านความปลอดภัย สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
  • ประสิทธิภาพและผลลัพท์ที่ดีขึ้น จึงช่วยลดต้นทุนขององค์กรในการบริหารจัดการได้
  • เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งต่อพนักงาน
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์
  • เพื่อระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทั้งการถูกโจมตี ข้อมูลรั่วไหล และ เข้าควบคุมการจัดการ เพื่อลดความเสียหายที่จะก่อให้เกิดขึ้นกับองค์กรและลูกค้า
  • ทำให้องค์กรมีบริบทและบทบาทในการพัฒนาองค์กรธุรกิจ ได้อย่างยืดหยุ่นและทันตามสถานการ์
  • ส่งเสริม และ สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ
  • แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามหลักขั้นตอนสากลและได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับโลก
  • แสดงให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเห็นถึงความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจที่มีมาตรฐาน
มาตรฐาน ISO 41001 เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีมาตรฐานนั้นเพื่ออะไร

ทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่จพมีองค์ประกอบบางอย่างที่ต้องทำในด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นหลักการที่ซับซ้อนแต่มีผลกระทบต่อทุกคน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกันพื้นที่ที่เราใช้หรือครอบครองอยู่ และวิธีที่พื้นที่เหล่านี้จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานคือนำเอามาตรฐาน ISO41001 มาประยุกต์ใช้นั่นเอง